นักวิจัยฮาร์วาร์ดชี้..รองเท้าวิ่งสมัยใหม่บิดเบือนธรรมชาติการวิ่งมนุนย์!!!
Daniel Lieberman ศาสตราจารย์ด้านวิวัฒนาการทางชีววิทยาของมนุษย์ประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชี้ว่านักวิ่งที่ใส่รองเท้าวิ่งมักจะลงเท้าด้วยส้นเท้า (Rear-Foot-Strike: RFS) ซึ่งเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บมากกว่านักวิ่งกลุ่มที่วิ่งด้วยเท้าเปล่าซึ่งมักจะลงน้ำหนักตรงกลางเท้า (Mid-Foot-Strike:MFS) หรือ ช่วงเท้าด้านหน้า (Fore-Foot-Strike:FFS) ในงานวิจัยของเขาที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Nature ครับ
Lieberman กล่าวว่ามนุษย์เราวิ่งด้วยเท้าเปล่าหรือรองเท้าพื้นบางกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษแล้วครับ ก่อนที่จะมีการคิดค้นรองเท้าวิ่งสมัยใหม่เมื่อช่วงปี 1970 นี่เอง งานวิจัยของเขาสรุปว่ารองเท้าวิ่งสมัยใหม่พวกนี้มักจะมีการเสริมกันกระแทกช่วงส้นเท้า แต่กลับเป็นว่ามันบิดเบือนธรรมชาติการลงน้ำหนักการวิ่งของมนุษย์ ส่งผลให้นักวิ่งสะดวกที่จะลงน้ำหนักที่ส้นเท้าแทนที่จะลงที่ตรงกลางหรือด้านหน้าอย่างที่บรรพบุรุษเราเคยวิ่งกันมาครับ
เมื่อวิเคราะห์ด้วยหลักจลน์ศาสตร์แล้ว Lieberman พบว่าในการลงเท้าด้วยช่วงเท้าด้านหน้า (FFS) หรือกลางเท้า (MFS) นั้น กล้ามเนื้อเท้าจะช่วยลดแรงกระแทกจากน้ำหนักตัว ต่างจากการลงน้ำหนักด้วยส้นเท้า (RFS) ซึ่งจะส่งแรงไปที่เข่าโดยตรงครับ นอกจากจะช่วยลดแรงกระแทกแล้วการลงน้ำหนักด้วยกลางเท้า (MFS) หรือช่วงเท้าด้านหน้า (RFS) ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่งด้วยการเปลี่ยนแรงที่เก็บสะสมจากการลงน้ำหนักตัวไปเป็นแรงดีดตัวไปข้างหน้าอีกด้วยครับ
แต่ยังไงก็ยังไม่สามารถสรุปได้นะครับว่าการวิ่งเท้าเปล่าดีกว่าจริง ยังมีงานวิจัยอีกมากบ่งชี้ข้อดีของการใส่รองเท้าวิ่งครับ อย่างน้อยถ้าวิ่งเท้าเปล่าในกรุงเทพฯ เพื่อนๆอาจเจ็บตัวเพราะเหยียบเศษแก้วเศษตะปูบนพื้นถนนมากกว่าลงน้ำหนักที่ส้นเท้าล่ะครับบบบ